ข้อมูลทั่วไป

สภาพทั่วไป

1.1  ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล

              เทศบาลตำบลเชียงคำตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพื้นที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา และมีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 9
บ้านมาง หมู่ที่ 4 ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา และมีระยะห่างจากจังหวัดพะเยาประมาณ  74 กิโลเมตร เทศบาลมีพื้นที่         ประมาณ 3 ตารางกิโลเมตร
แนวเขต
ด้านเหนือ  ตั้งแต่หลักเขตที่ 1 ซึ่งอยู่ที่ฟากตะวันออกของทางหลวงไปอำเภอเทิง ตรงที่อยู่ห่างจากวัดดอนไชยไปทางทิศเหนือ
100 เมตร จากหลักเขตที่ 1 เป็นเส้นขนานไปกับฟากเหนือของทางหลวงไปอำเภอปง ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จดฝั่งเหนือของลำน้ำลาว
ซึ่งเป็นหลักเขตที่ 2
ด้านตะวันออก  จากหลักเขตที่ 2 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จดฟากตะวันออกของถนนบ้านมางตรงที่อยู่ห่างจาก
สามแยกไปตำบลเวียงไปทางทิศใต้ 200 เมตร ซึ่งเป็นหลักเขตที่ 3
        ด้านใต้ จากหลักเขตที่ 3 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ จดฝั่งตะวันออกของลำน้ำแวน ตรงที่อยู่ห่างจากฝั่งใต้ของลำน้ำลาว
ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 100 เมตร ซึ่งเป็นหลักเขตที่ 4
        ด้านตะวันตก จากหลักเขตที่ 4 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจนบรรจบหลักเขตที่ 1
         อาณาเขต
         ทิศเหนือ   ติดกับพื้นที่บางส่วนของบ้านดอนไชย หมู่ที่ ๕ ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
         ทิศใต้       ติดกับบ้านกอม หมู่ที่  ๑๑ ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
         ทิศตะวันออก    ติดกับบ้านวังเค็ม หมู่ที่ ๑ ตำบลเจดีย์คำ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
ทิศตะวันตก      ติดกับพื้นที่บางส่วนของบ้านมาง หมู่ที่ ๔ ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
1.2   ลักษณะภูมิประเทศ
เทศบาลตำบลเชียงคำตั้งอยู่ในเขตตำบลหย่วน บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำลาว ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอเชียงคำ พื้นที่ส่วนใหญ่
มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ และเป็นชุมชนเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น มีแม่น้ำลาวไหลจากทิศใต้ไปทางทิศเหนือผ่านกลางพื้นที่
ตลอดแนวเขตมีลักษณะคดเคี้ยวไปมา มีอาณาเขตติดกับเทศบาลตำบลหย่วนทุกด้านพื้นที่ในเขตเป็นชุมชนเมือง ประชากรในเขตส่วนใหญ่
จึงประกอบอาชีพข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ และค้าขายเป็นหลัก
1.3  ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศจัดอยู่ในเขตร้อนแบบสะวันนา หรือ AW (ร้อนชื้น) อุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ยในเดือนเมษายน และต่ำสุดในเดือนมกราคม
ฤดูร้อน    เดือนมีนาคม – เดือนพฤษภาคม ร้อนมากที่สุดในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน
ฤดูฝน      กลางเดือนพฤษภาคม – เดือนสิงหาคม รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
ฤดูหนาว   เดือนตุลาคม – เดือนกุมภาพันธ์ แห้งแล้งและหนาวเย็น เนื่องจากอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ

เขตการปกครอง

เทศบาลตำบลเชียงคำได้ประกาศจัดตั้งเป็นชุมชนตามประกาศของเทศบาลตำบลเชียงคำ ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2543
มีชุมชนในเขตการปกครอง จำนวน 10 ชุมชน อยู่ในพื้นที่ของตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ประกอบด้วย
ตารางที่ 1 :  รายชื่อชุมชนและผู้นำชุมชนในเขตเทศบาล

ชื่อชุมชน หมู่ที่ ชื่อ – นามสกุล
ผู้นำชุมชน – ผู้ใหญ่บ้าน
บ้านธาตุสบแวน    1   (บางส่วน) นายบุญมี   จันทร์วงศ์
บ้านธาตุ    2   (บางส่วน) นายเอนก นันตา
บ้านหย่วน    3   (บางส่วน) นางกาญจนา สมฤทธิ์
บ้านมาง    4   (บางส่วน) นางนงลักษณ์  จินะราช
บ้านดอนไชย    5   (บางส่วน) นายอานุ ปันสุวรรณ
บ้านตลาด    8 นายธีรวุฒิ ภิญโญขวัญ
บ้านงุ้น    9   (บางส่วน) นายประคอง ณ ลำปาง
บ้านใหม่    10 (บางส่วน) นายขจรศักดิ์ แดงมณี
บ้านทุ่งบานเย็น    13 (บางส่วน) นายบุญช่วย มกรมณเฑียร
บ้านเชียงคำ    15 นายธนวรรธห์  สิริเจริญพานิช

แผนยุทธศาสตร์หน่วยงาน

  ยุทธศาสตร์ของเทศบาลตำบลเชียงคำ
1 วิสัยทัศน์
เมืองน่าอยู่ ประชาชนอยู่ดีมีสุข
2 ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แหล่งน้ำ และเศรษฐกิจ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาสังคม การศึกษา การสาธารณสุข และวัฒนธรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 4 รักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามหลัdธรรมาภิบาล
3 เป้าประสงค์
เป้าประสงค์ที่  1 ประชาชนได้รับบริการโครงสร้างพื้นฐานอย่างทั่วถึง
เป้าประสงค์ที่  2 ประชาชนมีน้ำสำหรับอุปโภค – บริโภค
เป้าประสงค์ที่  3  แหล่งท่องเที่ยวมีความสวยงาม
เป้าประสงค์ที่  4 ประชาชนมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีวิต
เป้าประสงค์ที่  5 ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
เป้าประสงค์ที่  6  ประชาชนได้ร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น
เป้าประสงค์ที่  7  ประชาชนมีความรู้
เป้าประสงค์ที่  8  ประชาชนมีสุขภาพที่แข็งแรง
เป้าประสงค์ที่  9  ผู้สูงอายุได้รับสวัสดิการอย่างทั่วถึง
เป้าประสงค์ที่  10 ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เป้าประสงค์ที่ 11 ประชาชนมีชุมชนที่สะอาด น่าอยู่ ปลอดมลพิษ
เป้าประสงค์ที่ 12 บุคลากรมีความรู้เรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อม
เป้าประสงค์ที่ 13 ประชาชนได้ร่วมปกป้องและเทิดทูนสถาบันชาติศาสนาและพระมหากษัตริย์
เป้าประสงค์ที่ 14  ชุมชน/หมู่บ้านปลอดยาเสพติด
เป้าประสงค์ที่ 15  ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
เป้าประสงค์ที่ 16  ชุมชน/หมู่บ้านมีความปลอดภัย
เป้าประสงค์ที่ 17 เทศบาลตำบลเชียงคำบริหารจัดการองค์กรอย่างมuประสิทธิภาพและเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
เป้าประสงค์ที่  18 เทศบาลตำบลเชียงคำส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
เป้าประสงค์ที่  19  พนักงานเทศบาลได้พัฒนาความรู้ทักษะในงานที่รับผิดชอบ
               กลยุทธ์
ยุทธศาสตร์ที่ 1  การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แหล่งน้ำ และเศรษฐกิจ
กลยุทธ์
1  พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
2  พัฒนาแหล่งน้ำ และบริหารจัดการน้ำเพื่อประชาชน
3  พัฒนา สนับสนุนและบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว กิจกรรมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
4  พัฒนาองค์ความรู้ ระบบการผลิตแบบครบวงจร เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตรและเพิ่มศักยภาพการประกอบอาชีพ รวมทั้งด้านการตลาดอย่างมีคุณภาพและได้มาตรฐาน
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ พัฒนาสังคม การศึกษา การสาธารณสุข และวัฒนธรรม
กลยุทธ์
1 พัฒนาศักยภาพทุนทางสังคม และสร้างองค์ความรู้ให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2  ส่งเสริมอนุรักษ์ ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
3  ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาทุกระดับ เพื่อพัฒนาคนในชุมชนและท้องถิ่น
4  ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
5  ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดสวัสดิการประชาชน กลุ่มเป้าหมายเพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคง
ยุทธศาสตร์ที่ 3 บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์
1  อนุรักษ์และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน
2 พัฒนาศักยภาพชุมชน เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ
3  ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพบุคลากรของ อปท.เพื่อการสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 4 รักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย
กลยุทธ์
1  ปกป้องเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และเสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในท้องถิ่น
2  ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
3  เสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
4  ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
กลยุทธ์
1  บริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
2  ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างเวทีเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของภาคประชารัฐ
3  พัฒนาองค์กร และบุคลากรเพื่อการบริหารจัดการที่ดีและมีประสิทธิภาพ